วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แพะกลายเป็นสุนัข
ใจหนึ่งก็อยากจะซื้อ ใจหนึ่งก็เสียดายเงิน คำรำพึงของใครคนหนึ่ง
ขณะที่เดินดูสินค้าอาจทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าคนเรานั้นมีสองใจ แท้ที่จริงใจ ในที่นี้คือความคิด คนเราคิดได้หลายอย่าง ถึงได้มีสำนวนว่า หลายใจ ขึ้นมา คนที่เปลี่ยนใจคือคนที่เปลี่ยนความคิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเปลี่ยนแล้วดีขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆจนไม่อยู่กับร่องกับรอย ก็คงไม่มีทางรู้ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีหรือไม่ดี กลายเป็นคน ใจโลเล เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา คนที่เชื่อคนอื่นง่ายๆ โดยไม่ยั้งคิด ท่านว่าเป็นคน ใจเบา ราวกับ พกนุ่น ถ้าเชื่อง่าย ยินยอมง่ายๆ ให้เขาหลอกไปในทางมิดีมิร้าย คงต้องเรียกว่า ใจง่าย ส่วนคนที่ไม่เชื่อใครง่ายๆ ท่านว่าเป็นคน ใจหนักแน่นเหมือน พกหิน ทีเดียว
แต่ก็ยังไม่แน่นัก ถึงจะใจหนักแน่นเหมือนดังที่หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงนิพนธ์ไว้ในสุภาษิตอิศรญาณ ว่า อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก แต่วรรคต่อมาท่านว่า ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว สิ่งที่ผลักมานั้น ก็คือสิ่งที่เร้าหรือโน้มน้าวใจให้เห็นประโยชน์ที่น่าจะได้รับ ถ้าได้ยินหนึ่งครั้งสองครั้งก็ยังมี ใจหนักแน่น อยู่ได้แต่ถ้ามากรอกหูซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็คงไหวไปมาแรงชักจูง การโฆษณาสินค้า ที่เซ้าซี้เราอยู่ทุกวันนี้ก็ใช่หลักเดียวกันมนุษย์มีความต้องการขั้นพื้นฐานที่ผลักดันให้คิด เชื่อ และทำสิ่งต่างๆ
ตามความต้องการความหิวผลักดันให้มนุษย์ออกไปแสวงหาอาหาร ความต้องการอยู่เป็นหมู่คณะผลักดันให้มนุษย์ทำตัวให้เหมือนคนอื่นๆ เป็นต้น คำชักชวนด้วยการโน้มน้าวใจ ว่าถ้าทำเช่นนั้นเช่นนี้แล้ว จะได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จึงกระทบใจมนุษย์ได้ดี
ชายหกคนในนิทานเรื่อง หนึ่งในปัญจตันตระเห็นทีจะรู้หลักนี้ดี จึงโน้มน้าวใจพราหมณ์ผู้หนึ่งหลงเชื่อว่ากำลังแบกสุนัข นิทานเล่าว่าพราหมณ์จะทำพิธีบูชายัญจึงไปหาซื้อแพะมาตัวหนึ่ง ขณะที่แบกแพะกลับบ้าน ชายหกคนเห็นเข้าก็คิดจะหลอกเอาแพะจากพราหมณ์ คนแรกยืนดักหน้าพราหมณ์แล้วทักว่าจะแบกสุนัขไปไหนพราหมณ์นึกขันตอบว่า สุนัขที่ไหนกัน แพะแท้ๆ เดินต่อไปอีกไม่กี่ก้าว ชายคนที่สองก็เข้ามาทักด้วยคำถามคล้ายๆกัน พราหมณ์ไม่ขัน และยังตอบเหมือนเดิม ไปอีกหน่อยพบชายคนที่สาม ถามอีกแล้ว คราวนี้พราหมณ์ชักลังเลวางแพะลงดูให้แน่อีกที ครั้นเห็นว่ายังเป็นแพะตัวเดิมที่ซื้อมา ก็แบกขึ้นบ่าเดินต่อไป สักพักชายคนที่สี่เดินเข้ามาหาถามว่า จะเอาสุนัขไปทำอะไร พราหมณ์ตอบว่านี่มันแพะนะจะเอาไปบูชายัญ ชายคนนั้นหัวเราะ แล้วยืนยันว่าเห็นๆอยู่ ว่าเป็นสุนัขแท้ๆ พราหมณ์ไม่ค่อยสบายใจเดินต่อมาพบชายคนที่ห้า และต่อมาอีกก็พบชายคนที่หกทักถามเหมือนกันอีกแล้ว หรือว่าแพะตัวนี้จะเป็นปีศาจ ถึงได้กลายร่างเป็นสุนัขให้ใครเห็นได้ ถ้าเราขืนแบกมันต่อไป กว่าจะถึงบ้าน มันก็คงแผลงฤทธิ์ทำร้ายเราแน่ๆคิดแล้วพราหมณ์ก็โยนแพะทิ้งแล้ววิ่งตัวเปล่ากลับบ้าน ชายทั้งหกคนจึงจับแพะไปเชือดกินกันวิธีการของชายทั้งหกคน คือโน้มน้าวใจพราหมณ์ให้เปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนการกระทำ คือคิดว่าสิ่งที่แบกมาไมใช่แพะ และเลิกแบกต่อไป แต่เป็นการโน้มน้าวใจที่แฝงเจตนาไม่ดี ชักจูงให้เขาทำเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จึงเป็นการชักจูงทำนองเดียวกับการโฆษณาชวนเชื่อ คนที่จะตกเป็นเหยื่อของการโน้มน้าวใจในลักษณะนี้ได้ง่ายๆก็คือ "คนที่ขาดวิจารณญาณ" หลักความเชื่อในกาลามสูตรจึงสอนไว้ข้อหนึ่งว่า "อย่าถือโดยตรึกตามอาการ"ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ว่า หมายถึง"การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้ว ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่คิดเห็นว่า ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า แล้วเชื่อถือตามความคิดเห็นนั้น อย่างนี้เรียกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

comment